ประเภทสุดท้ายของส่วนต่างๆในประโยคก็คือ
คำอุทาน “Interjections”หรือ “exclamation” ตัวอย่างเช่น “Ah!” หรือ จะเป็นกลุ่มคำ “What
nonsense!” ซึ่งไม่ได้แสดงบทบาทใดในโครงสร้างประโยค
บางครั้งผู้พูดก็ตั้งใจให้เป็นไปตามความหมายนั้นหรือไม่ก็แค่กล่าวขึ้นมาลอยๆ
เนื่องจากว่าเป็นคำอุทาน ดังนั้นจึงตามมาด้วยเครื่องหมายอัศเจรีย์
หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าเครื่องหมายตกใจ ( ! )
ตามที่เราพบในวรรณคดี
บทประพันธ์เก่าๆและ นวนิยายทางประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษมักจะใช้คำอุทานดังนี้ “Zounds!”, “By Jove!” และ “Gadzooks!” ส่วนคำอุทานทั่วไปที่พบกันได้ในปัจจุบัน เช่น “Oh dear!”, “Good heavens!”, “Great!”, “Marvelous!”, “Splendid!”, “Oh!”, “Ugh!”, “Damn!” และอื่นๆอีกมากมาย
ค่อนข้างบ่อยที่ “Alas” ถูกใช้สอดแทรกขึ้นมา มันสามารถถูกวางไว้แทรกกลางประโยคมันสามารถถูใช้เป็นตัวช่วยในศิลปะการพูด
อย่างเช่น “The party’s prospects – alas! – have been
ruined by the irresponsible action of a few hotheads.”
มีคำอุทานแบบแสดงอาการอยากรู้อยากเห็นโดยการใช้
“Why!” เช่น “Why! He’s done it again.” บางทีการที่ใช้เป็นเพราะว่าเสียงของคำที่ออกมานั้นแสดงถึงอาการประหลาดใจได้อย่างมากหรือเป็นเพราะว่ารูปร่างของปากในขณะที่พูดคำนี้มันช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกให้กับผู้ฟัง
ขอบคุณข้อมูลจาก
ฐิติ นิติอนันตกูล. ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รามาการพิมพ์, 2550
ขอบคุณข้อมูลจาก
ฐิติ นิติอนันตกูล. ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รามาการพิมพ์, 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น