คำคุณศัพท์ คือ คำที่ใช้ขยายคำนาม ซึ่งจะเป็นส่วนที่อธิบายว่าสิ่งนั้นเป็นชนิดใด
อย่างไรหรืออะไร คำคุณศัพท์ทั่วไปที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น big, pretty, sour, young, best
คำคุณศัพท์นั้นรวมถึงคำนำหน้าบุคคลด้วย
อย่างเช่น Mr. , Mrs. และ Miss รวมทั้ง
Sir และ Lord โดยที่ตามมาด้วยชื่อของบุคคล
คำคุณศัพท์รวมถึงคำจำพวกของคำที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ
คือ my, your, his, her, our, their บางครั้งเราจะใช้คำว่า own
ตามหลังคำคุณศัพท์ความเป็นเจ้าของเพื่อที่จะเน้นความเป็นเจ้าของ
เช่น “my own hat” โดยที่คำว่า own ก็เป็นคำคุณศัพท์เช่นกัน
คำเหล่านี้สามารุจัดอยู่ในกลุ่มของคำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ
(possessive pronouns) ด้วย
แต่เมื่อคำเหล่านี้ใช้ในความหมายว่าสิ่งของนั้นเป็นของใคร
จึงทำให้สามารถเป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วย
ส่วนรูปแสดงความเป็นเจ้าของที่สัมพันธ์กันนั้น เช่น mine, yours, theirs คำในกลุ่มนี้ไม่สามารถวางไว้หน้าคำนามได้ และในตัวเองก็ให้ความหมายแล้วว่า
“my hat”, “your…” หรือ “their…” ดังนั้นแน่นอนว่าทำหน้าที่เป็นคำสรรพนาม
มีข้อยกเว้นบางกรณีที่เราจะพบว่าคำคุณศัพท์นั้นตามหลังคำนาม
แต่กรณีเหล่านั้นปกติแล้วจะพบได้ในโครงสร้างที่เป็นวรรณคดีพิเศษ
ในภาษากวีและในบทสวดมนต์ ตัวอย่างเช่น
“Yet once
more, O ye laurels, and once more
Ye myrtles
brown, with ivy never sere,
I come to pluck
your berries harsh and crude,
And with forced
fingers rude
Shatter your
leaves before he mellowing year.”
คำคุณศัพท์นั้นรวมถึงสี
ตัวเลข จำนวน และเชื้อชาติต่างๆ
สำหรับเชื้อชาตินั้นก็ต้องเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่
บ่อยครั้งที่ยากในการตัดสินใจว่าควรจะใช้ F ในสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันหรือไม่ก็ตาม
อย่างเช่น “French chalk”, “French polish” บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้ถูกพิจารณาให้ใช้
f เนื่องจากจุดเริ่มต้นมาจากฝรั่งเศสนั้นได้เลือนหายไปในการใช้ภาษาอังกฤษทั่วไป
แต่ในขณะที่คำว่า French นั้นเหมาะสมกับตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับตัวมันเองแล้ว
จึงทำให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่กับคำว่า French เสมอ
คำนำหน้านาม (Articles)
คำคุณศัพท์นั้นรวมไปถึงคำนำหน้านามหรือที่เราคุ้นกันว่า
“articles” ซึ่งคำนำหน้านามนั้นมีอยู่ 3 ตัว คือ a, an, และ the โดยที่เราเรียก
a และ an ว่า คำนำหน้านามที่ไม่เจาะจง
หรือ “indefinite articles” และคำคุณศัพท์ the เรียกว่า คำนำหน้านามที่เจาะจง หรือ “definite articles”
ขอบคุณข้อมูลจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น