.....Welcome to my blog.....

Conjunction

คำสันธาน (Conjunctions)
          อนุประโยค (clause) เป็นข้อความที่สมบูรณ์โดยมีคำกริยาประกอบอยู่ด้วยเป็นประโยคสั้นๆ ในทางตรงกันข้ามถ้าวลีหรือกลุ่มคำ (phrase) ไม่ได้มีคำกริยาอยู่ด้วยก็ถือว่าไม่เป็นประโยค
            บ่อยครั้งที่ 1 ประโยคนั้นประกอบไปด้วย 2 อนุประโยคหรือมากกว่า แล้วนำมาเชื่อมต่อกันด้วยวิธีบางอย่าง มาพิจารณาประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
            “The night was dark and it was cold.”
            “The night was clod but there was no fire.”
            “Nero played while Rome burned.”
            แต่อนุประโยคของประโยคข้างต้นมีความหมายพอเพียงอยู่ในตัว ดังนั้นอนุประโยคสามารถอยู่แยกด้วยตัวเองได้ แต่การที่เรานำอนุประโยคมารวมกันเป็นประโยคเดียวกันก็เพื่อความรื่นหูรวมถึงความสอดคล้องของความหมายด้วย โดยการนำ and, but และ while มาเป็นตัวเชื่อม และเราเรียกคำเหล่านี้ว่า คำสันธาน (Conjunction)
            คำสันธานนอกเหนือจากหน้าที่ที่มาใช้เชื่อมส่วนต่างๆ ของประโยค ตัวคำสันธานเองก็ยังแสดงบางอย่างในตัวด้วย
            จากตัวอย่างแรกในอนุประโยคที่สองหลัง and แสดงถึงอารมณ์ที่ต่อเนื่องที่ถูกกระตุ้นด้วยความมืดของตอนกลางคืน แสดงว่าคำสันธาน and จะแสดงถึงความคล้อยตามสอดคล้องกันระหว่างอนุประโยคที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน ส่วนคำสันธาน but นั้นแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างอนุประโยคทั้งสอง เราสามารถแทนด้วย “Although the night was cold, there was no fire.”
            คำสันธานที่ถูกประยุกต์ใช้อย่างชำนาญนั้นไม่เพียงแต่จะช่วยในจุดมุ่งหมายหลักคือ การเชื่อมส่วนของประโยคเข้าด้วยกันแล้ว แต่ยังช่วยส่งเสริมสนับสนุนถึงอารมณ์ความรู้สึกโดยทั่วไปของประโยคด้วย ซึ่งบางครั้งก็สำคัญอยู่ไม่ใช่น้อย คำสันธานที่เราพบเห็นกันบ่อยๆมีดังนี้ and, but (or yet), although (or though), because (or as, for, since), or if คำที่อยู่ภายในวงเล็บปกติจะเป็นรูปแบบที่ใช้แทนกันได้
            กลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นคำสันธาน (Conjunction phrases)
            นอกเหนือจากคำที่ใช้เป็นคำสันธานแล้ว ก็ยังมีกลุ่มคำหรือวลีที่ 

สามารถใช้ทำหน้าที่เหมือนคำสันธานคือใช้เชื่อมประโยคได้ด้วย เช่น 

“despite the fact that”, “Owing to the fact that”, “for the reason that” 

และ “in addition to which” ซึ่งเป็นการพูดจาที่อ้อมค้อม ปกติแล้วไม่มี

เหตุผลใดที่เราจะไม่สามารถใช้คำสันธานแทนกลุ่มคำเหล่านี้ได้ ดังนั้นใน

ตัวอย่างที่ให้มานั้นกลุ่มคำแรกก็สามมารถแทนด้วย although ส่วนกลุ่มคำที่ 

2 และ 3 ก็แทนได้ด้วย as หรือ because และกลุ่มคำสุดท้ายก็แทนได้ด้วย 

and





ขอบคุณข้อมูลจาก
ฐิติ นิติอนันตกูล.  ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษฉบับมาตรฐาน.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รามาการพิมพ์, 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น